บรรณานุกรม มูลนิธิวิกิมีเดีย. ( 2560). โครโมโซม. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 ธันวาคม 2560 ) นายอนุรุทธิ์ หมีดเส็น. (2560). ความผิดปกติของโครโมโซม. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : http://www.scimath.org (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 ) บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น . (2560). ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม . [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : http://www.maceducation.com (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 ) Psuda Boonyoo . (2559). โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม . [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : http://kaidawtwentythreeh.wixsite.com (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 ) krusuranee . (2 546 ). การแบ่งเซลล์. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/krusuranee (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มกราคม 2561 ) ...
บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018
ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ

ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม ปกติโครโมโซมของมนุษย์คือ 2n = 2x = 46 โดยแบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 44 แท่ง และโครโมโซมเพศ 2 แท่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและชายคือ เพศหญิง คือ XX เพศชาย คือ XY มนุษย์มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์อาจส่งผลต่อจำนวนโครโมโซมได้ ภาพที่ 3 ภาพการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติ ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1. ความผิดปกติของออโทโซม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ 1.1 ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง ...
การแบ่งเซลล์ (Cell Division)
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ

การแบ่งเซลล์ ( Cell Division) การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ ในการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขบวนการ 2 ขบวนการ เกิดสลับกันไป คือ การแบ่งตัวของนิวเคลียส และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม ( cytoplasm) โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการแบ่งตัวของนิวเคลียสแล้ว ก็จะเริ่มการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที การแบ่งตัวของนิวเคลียสมีอยู่ 2 แบบ คือ การแบ่งตัวแบบไมโทซิส และการแบ่งตัวแบบไมโอซิส การแบ่งตัวนิวเคลียสแบบไมโทซิส ( MITOSIS) เป็นการแบ่งตัวของเซลล์ร่างกายเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนเซลล์หรือเพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป การแบ่งตัวแบบนี้จะพบว่าจากเซลล์เดิม ( Mother Cell) หนึ่งเซลล์ จะให้เซลล์ใหม่เกิดขึ้น 2 เซลล์ ซึ่งเรียกว่าเซลล์ลูก ( Daughter Cell) ชนิดและจำนวนของโครโมโซมใหม่จะเหมือนกับเซลล์เดิมทุกประการ การแบ่งตัวของเซลล์วิธีนี้แบ่งออกเป็นระยะๆได้ 5 ระยะ โดยระยะต่างๆจะดำเนินติดต่อกันไปไม่มีการหยุดที่ระยะใดระยะหนึ่ง 1. ระยะอินเตอร์เฟส (INTERPHASE) เซลล์ที่อยู่ระยะนี้โครโมโซมในนิวเคลียสยังไม่ปรากฏให้เห็นเป็นแท่งแต่ที่เห็นได้ชัดในระยะนี้ ...
โครโมโซมมนุษย์
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ

โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซมของมนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ออโตโซม และ โครโมโซมเพศ ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างนั้นมีความเชื่อมโยงกับเพศ และถ่ายทอดไปทางโครโมโซมเพศ ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่เหลือ ถูกเก็บไว้บนออโตโซม โครโมโซมทั้งสองประเภทมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะแบ่งเซลล์ในลักษณะเดียวกัน เซลล์มนุษย์มีโครโมโซมรวมแล้ว 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ รวมเป็นมีโครโมโซม 46 แท่ง ต่อหนึ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังมีไมโตคอนเดรียลจีโนม หรือ ข้อมูลพันธุกรรมในไมโตคอนเดรีย อีกหลายร้อยชุดต่อเซลล์ ข้อมูลที่ได้จาก การหาลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ของ จีโนมมนุษย์ ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมแต่ละแท่งมากขึ้น ตารางข้างล่างแสดงข้อมูลทางสถิติของโครโมโซมแต่ละแท่ง ข้อมูลนี้มาจากข้อมูลจีโนมมนุษย์ใน VEGA database ของ สถาบัน Sanger จำนวนยีนบนโครโมโซมแต่ละแท่งเป็นค่าประมาณจาก การทำนายยีน ความยาวทั้งหมดของโครโมโซมเป็นค่าประมาณเช่นกัน รวมถึงการประมาณขนาดของบริเวณ...
ลักษณะ รูปร่าง และจำนวนของโครโมโซม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ลักษณะ รูปร่าง และจำนวนของโครโมโซม แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองในระยะอินเตอร์เฟส ( Interphase) เพื่อจะแยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส anaphase ของการแบ่งเซลล์ โครมาทิดทั้งสองจะติดกันอยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ ( Centromere) รวมเรียกเซนโทรเมียร์แบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละโครมาทินก็เรียกว่าโครโมโซม นั่นคือ 1 โครโมโซม มี 1 เซนโทรเมียร์ โครโมโซม ของเซลล์ร่างกายจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม ( Homologous Chromosome) การนำโครโมโซมขนาดต่าง ๆ มาเรียงกันกันเรียกว่า แครีโอไทป์ (Karyotype) โดยจำแนกตามลักษณะ ขนาด และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์อาจจะอยู่ตรงกลาง ค่อนไปทางปลาย หรือ ปลายโครโมโซม จึงแบ่งลักษณะโครโมโซมเป็นแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. Metacentric เมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่น 2 ข้างออกจากเซนโทรเมียร์เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน 2. Submetacentric ซับเมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่นออกมา 2 ข้างจากเซนโทรเมียร์ไม่เท่ากัน 3. Acrocentric อะโครเซนตริก เป็นโครโมโซ...
ลักษณะของโครโมโซม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ลักษณะของโครโมโซม ในภาวะปกติเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบาง ๆ เรียกว่า โครมาติน (chromatin) ขดตัวอยู่ใน นิวเคลียส เมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว เส้นโครมาตินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง จึงเรียกว่า โครโมโซม แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า โครมาทิด ( chromatid) ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า เซนโทรเมียร์ ( centromere) โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัว โครโมโซมจะยืดยาวออกคล้ายเส้นใยเล็ก ๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม โดยโครโมโซมจะจำลองตัวเองขึ้นมา เป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ แล้วค...
การค้นพบโครโมโซม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
การค้นพบโครโมโซม ประมาณ ค.ศ. 1860 เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ได้ศึกษาลักษณะต่าง ๆของต้น ถั่วลันเตา ที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่ง ไปยังต้นถั่วที่ปลูกในรุ่นถัดไป เขาตั้งสมมุติฐานว่า มีอะไรบางอย่าง นำลักษณะต่างๆ จากรุ่นพ่อแม่ ไปสู่รุ่นลูก หน่วยพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบนั้น เมนเดลไม่ได้มองเห็นหน่วยพันธุกรรมจริง เพียงแต่อาศัยข้อมูล ที่ได้จาก การทดลอง และหาเหตุผลทาง คณิตศาสตร์ หน่วยพันธุ์กรรมที่เมนเดลค้นพบ เป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น (และเขาก็ไม่ได้ใช้คำว่า ยีน หรือ หน่วยพันธุกรรม โดยตรง) ในขณะที่เมนเดลค้นคว้าอยู่นั้น นัก ชีววิทยา กลุ่มหนึ่งที่ใช้ กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องค้นคว้า ได้พบรายละเอียดของเซลล์มากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2432 นักชีววิทยาจึงสามารถ เห็นรายละเอียดภายใน นิวเคลียส ขณะที่มีการแบ่ง เซลล์ ได้พบว่าภายในนิวเคลียส มีโครงสร้างที่ติดสีได้และมีลักษณะเป็นเส้นใย เรียกว่า โครโมโซม ( Chromosome) ปี พ.ศ. 2445 หลังจากการค้นพบผลงานของเมนเดล 2 ปี วอลเตอร์ ซัตตัน นักชีววิทยาชาวอเมริกัน และ เทโอดอร์ โบเฟรี ...
ความหมายของโครโมโซม
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความหมายของโครโมโซม โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของ หน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยูู่บนโครโมโซม ประกอบด้วย ดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทาง ชีวเคมี ภายใน เซลล์ สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่ , สีสันของดอกไม้ , รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น