บทความ

บรรณานุกรม         มูลนิธิวิกิมีเดีย. ( 2560). โครโมโซม. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 30 ธันวาคม 2560 )         นายอนุรุทธิ์ หมีดเส็น. (2560). ความผิดปกติของโครโมโซม. [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก : http://www.scimath.org  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 ) บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น . (2560). ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม . [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก : http://www.maceducation.com (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 )         Psuda  Boonyoo . (2559). โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม . [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก : http://kaidawtwentythreeh.wixsite.com  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 31 ธันวาคม 2560 )         krusuranee . (2 546 ). การแบ่งเซลล์. [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก  :  https://sites.google.com/site/krusuranee  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 มกราคม 2561 )     ...

E-BOOK เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซม

http://online.3dpageflip.com/kdho/vdqg/

ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม

รูปภาพ
ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม                                 ปกติโครโมโซมของมนุษย์คือ 2n = 2x = 46 โดยแบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 44 แท่ง และโครโมโซมเพศ 2 แท่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและชายคือ เพศหญิง คือ XX เพศชาย คือ XY มนุษย์มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์อาจส่งผลต่อจำนวนโครโมโซมได้  ภาพที่ 3 ภาพการแบ่งโครโมโซมที่ผิดปกติ ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ                   1.   ความผิดปกติของออโทโซม               เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย มีความผิดปกติ 2 ชนิด คือ 1.1 ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม   เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง ...

การแบ่งเซลล์ (Cell Division)

รูปภาพ
การแบ่งเซลล์ ( Cell Division)           การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ ในการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขบวนการ 2 ขบวนการ เกิดสลับกันไป คือ การแบ่งตัวของนิวเคลียส และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม ( cytoplasm) โดยปกติเมื่อสิ้นสุดการแบ่งตัวของนิวเคลียสแล้ว ก็จะเริ่มการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที การแบ่งตัวของนิวเคลียสมีอยู่ 2 แบบ คือ การแบ่งตัวแบบไมโทซิส และการแบ่งตัวแบบไมโอซิส การแบ่งตัวนิวเคลียสแบบไมโทซิส ( MITOSIS)  เป็นการแบ่งตัวของเซลล์ร่างกายเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนเซลล์หรือเพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป การแบ่งตัวแบบนี้จะพบว่าจากเซลล์เดิม ( Mother Cell) หนึ่งเซลล์ จะให้เซลล์ใหม่เกิดขึ้น 2 เซลล์ ซึ่งเรียกว่าเซลล์ลูก ( Daughter Cell) ชนิดและจำนวนของโครโมโซมใหม่จะเหมือนกับเซลล์เดิมทุกประการ การแบ่งตัวของเซลล์วิธีนี้แบ่งออกเป็นระยะๆได้ 5 ระยะ โดยระยะต่างๆจะดำเนินติดต่อกันไปไม่มีการหยุดที่ระยะใดระยะหนึ่ง 1. ระยะอินเตอร์เฟส  (INTERPHASE) เซลล์ที่อยู่ระยะนี้โครโมโซมในนิวเคลียสยังไม่ปรากฏให้เห็นเป็นแท่งแต่ที่เห็นได้ชัดในระยะนี้ ...

โครโมโซมมนุษย์

รูปภาพ
โครโมโซมมนุษย์                          โครโมโซมของมนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ออโตโซม   และ โครโมโซมเพศ   ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างนั้นมีความเชื่อมโยงกับเพศ และถ่ายทอดไปทางโครโมโซมเพศ ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่เหลือ ถูกเก็บไว้บนออโตโซม โครโมโซมทั้งสองประเภทมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะแบ่งเซลล์ในลักษณะเดียวกัน เซลล์มนุษย์มีโครโมโซมรวมแล้ว 23 คู่ เป็นออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ รวมเป็นมีโครโมโซม 46 แท่ง ต่อหนึ่งเซลล์ นอกจากนี้ยังมีไมโตคอนเดรียลจีโนม หรือ ข้อมูลพันธุกรรมในไมโตคอนเดรีย   อีกหลายร้อยชุดต่อเซลล์ ข้อมูลที่ได้จาก การหาลำดับดีเอ็นเอ  (DNA sequencing) ของ จีโนมมนุษย์ ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมแต่ละแท่งมากขึ้น ตารางข้างล่างแสดงข้อมูลทางสถิติของโครโมโซมแต่ละแท่ง ข้อมูลนี้มาจากข้อมูลจีโนมมนุษย์ใน   VEGA database   ของ สถาบัน Sanger   จำนวนยีนบนโครโมโซมแต่ละแท่งเป็นค่าประมาณจาก การทำนายยีน   ความยาวทั้งหมดของโครโมโซมเป็นค่าประมาณเช่นกัน รวมถึงการประมาณขนาดของบริเวณ...

ลักษณะ รูปร่าง และจำนวนของโครโมโซม

ลักษณะ รูปร่าง และจำนวนของโครโมโซม แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองในระยะอินเตอร์เฟส ( Interphase) เพื่อจะแยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส   anaphase   ของการแบ่งเซลล์  โครมาทิดทั้งสองจะติดกันอยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ ( Centromere) รวมเรียกเซนโทรเมียร์แบ่งเป็น  2 ส่วน แต่ละโครมาทินก็เรียกว่าโครโมโซม นั่นคือ 1 โครโมโซม มี 1 เซนโทรเมียร์ โครโมโซม ของเซลล์ร่างกายจะอยู่กันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม ( Homologous Chromosome) การนำโครโมโซมขนาดต่าง ๆ มาเรียงกันกันเรียกว่า   แครีโอไทป์  (Karyotype) โดยจำแนกตามลักษณะ ขนาด และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์อาจจะอยู่ตรงกลาง ค่อนไปทางปลาย หรือ ปลายโครโมโซม จึงแบ่งลักษณะโครโมโซมเป็นแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1.   Metacentric เมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่น 2 ข้างออกจากเซนโทรเมียร์เท่ากันหรือเกือบเท่ากัน 2. Submetacentric ซับเมตาเซนตริก เป็นโครโมโซมที่มีแขนยื่นออกมา 2 ข้างจากเซนโทรเมียร์ไม่เท่ากัน 3.   Acrocentric อะโครเซนตริก เป็นโครโมโซ...

ลักษณะของโครโมโซม

ลักษณะของโครโมโซม                                                                                                       ในภาวะปกติเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครโมโซมมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายบาง ๆ เรียกว่า    โครมาติน  (chromatin) ขดตัวอยู่ใน นิวเคลียส   เมื่อเซลล์เริ่มแบ่งตัว เส้นโครมาตินจะหดตัวสั้นเข้ามีลักษณะเป็นแท่ง จึงเรียกว่า โครโมโซม แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า โครมาทิด ( chromatid) ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า เซนโทรเมียร์ ( centromere) โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัว โครโมโซมจะยืดยาวออกคล้ายเส้นใยเล็ก ๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม โดยโครโมโซมจะจำลองตัวเองขึ้นมา เป็นเส้นคู่ที่เหมือนกันทุกประการ แล้วค...